จังหวัดสมุทรปราการ หรือเรียกโดยทั่วไปว่า "เมืองปากน้ำ" เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่สำคัญในอดีต หมายถึงกำแพงชายทะเลหรือกำแพงริมทะเล สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในสมัยของพระเจ้าทรงธรรม เดิมตั้งอยู่ใกล้คลองบางปลากดทางฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองสมุทรปราการเป็นเมืองใหม่ที่บริเวณเจ้าพระยา คือ ตำบลปากน้ำในปัจจุบัน อยู่ระหว่างคลองปากน้ำกับคลองมหาวงศ์ อันเนื่องจากทรงเล็งเห็นว่าที่ตั้งเมืองสมุทรปราการยังไม่มั่นคงพอที่จะตั้งรับต่อสู้กับข้าศึกได้ และได้ทำพิธีฝังหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ พ.ศ. 2365 บริเวณที่ฝังหลักเมืองชาวบ้านเรียกว่า "ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง" เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของชาวสมุทรปราการมาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จังหวัดพระประแดงถูกยุบและให้มารวมขึ้นอยู่กับจังหวัดสมุทรปราการ ดังนั้นจังหวัดพระประแดงจึงคงสภาพเป็นเพียงอำเภอพระประแดงที่ตั้งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาในปี พ.ศ. 2485 จังหวัดสมุทรปราการถูกยุบไปรวมกับจังหวัดพระนคร จนถึงปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และดำรงฐานะเป็นจังหวัดสมุทรปราการมาจนถึงทุกวันนี้ จังหวัดสมุทรปราการเป็นจังหวัดที่มีป้อมปราการมากมายที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึกตั้งอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาดังต่อไปนี้ คือ
1. ป้อมประโคนชัย
2. ป้อมนารายณ์ปราบศึก
3. ป้อมปราการ
4. ป้อมกายสิทธิ์
5. ป้อมผีเสื้อสมุทร
6. ป้อมตรีเพชร
7. ป้อมคงกระพัน
8. ป้อมเสือซ่อนเล็บ
9. ป้อมพระจุลจอมเกล้า
ปัจจุบันนี้ป้อมปราการในจังหวัดสมุทรปราการเหลืออยู่เพียง 2 ป้อม เท่านั้น คือ ป้อมผีเสื้อสมุทร และป้อมพระจุลจอมเกล้า
จังหวัดสมุทรปราการตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยอยู่ตอนปลายสุดของแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทย ระหว่างเส้นรุ้งที่ 13 - 14 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 100 - 101 องศาตะวันออก มีเนื้อที่ประมาณ 1,004.092 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 627,557.50 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ กรุงเทพมหานคร
- ทิศใต้ ติดต่อกับ อ่าวไทย
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ กรุงเทพมหานคร
พระเจดีย์ หมายถึง พระสมุทรเจดีย์ที่สร้างอยู่กลางแม่น้ำ ภายในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระไตรปิฎก
พระอุโบสถ หมายถึง พระอุโบสถที่ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร (พระมงคลชัยวัฒน์)
ต้นโพทะเล ดอกดาวเรือง
การปกครอง
จังหวัดสมุทรปราการแบ่งการปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งออกเป็น 6 อำเภอ ประกอบไปด้วย
ใน 6 อำเภอ แบ่งออกเป็น 50 ตำบล 405 หมู่บ้าน
พื้นที่จังหวัดสมุทรปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 49 แห่ง ประกอบด้วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยมี 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 4 แห่ง เทศบาลตำบล 13 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 30 แห่ง จำแนกได้ดังนี้
ข้อมูลเทศบาลในจังหวัดสมุทรปราการ
ลำดับ | ชื่อเทศบาล | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ตั้งเมื่อ (พ.ศ.) |
อำเภอ | ครอบคลุมตำบล | ประชากร (คน) (ณ สิ้นปี 2555) |
||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ทั้งตำบล | บางส่วน | รวม | ||||||||||
เทศบาลนคร | ||||||||||||
1 |
7.33
|
2542 | เมืองฯ | 1 | - | 1 |
51,691
|
|||||
เทศบาลเมือง | ||||||||||||
2 (1) |
0.61
|
2480 | พระประแดง | 1 | - | 1 |
10,744
|
|||||
3 (2) |
15.50
|
2545 | พระประแดง | 3 | - | 3 |
74,903
|
|||||
4 (3) |
9.30
|
2550 | เมืองฯ | - | 1 | 1 |
25,726
|
|||||
5 (4) |
25.50
|
2552 | พระประแดง | 5 | - | 5 |
77,787
|
|||||
เทศบาลตำบล | ||||||||||||
6 (1) |
|
2538 | เมืองฯ | - | 3 | 3 |
30,822
|
|||||
7 (2) |
|
2542 | เมืองฯ | 4 | - | 4 |
119,190
|
|||||
8 (3) |
|
2542 | เมืองฯ | - | 2 | 2 |
23,752
|
|||||
9 (4) |
|
2542 | เมืองฯ | - | 1 | 1 |
55,796
|
|||||
10 (5) |
|
2542 | เมืองฯ | - | 3 | 3 |
102,114
|
|||||
11 (6) |
|
2542 | บางบ่อ | - | 1 | 1 |
6,522
|
|||||
12 (7) |
|
2542 | บางบ่อ | 1 | - | 1 |
3,261
|
|||||
13 (8) |
|
2542 | บางบ่อ | - | 1 | 1 |
11,732
|
|||||
14 (9) |
|
2542 | บางพลี | - | 3 | 3 |
8,198
|
|||||
15 (10) |
|
2542 | พระสมุทรเจดีย์ | 1 | - | 1 |
13,218
|
|||||
16 (11) |
|
2542 | พระสมุทรเจดีย์ | - | 2 | 2 |
17,577
|
|||||
17 (12) |
|
2542 | บางเสาธง | - | 2 | 2 |
23,520
|
|||||
18 (13) |
|
2554 | บางบ่อ | 1 | - | 1 |
9,086
|
จังหวัดสมุทรปราการ มีประชากรเป็นอันดับ 2 ของภาค รองจากกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ด้วยเหตุที่เป็นจังหวัดรองรับการขยายตัวจากกรุงเทพฯ ทั้งในด้านการผลิต คือ อุตสาหกรรม และการกระจายตัวของประชากร ทำให้สมุทรปราการมีประชากรย้ายถิ่นจากที่อื่นมาในจังหวัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งประชากรที่เคลื่อนย้ายเข้ามาโดยแจ้งย้ายที่อยู่อย่างถูกต้อง และไม่ย้ายทะเบียนราษฎร์เข้ามาก็มี ทำให้ประชากรที่มีอยู่จริงสูงกว่าจำนวนประชากรในทะเบียนราษฎร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน กลุ่มอายุ 20-29 ปี จะมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนราษฎร์ต่ำกว่ากลุ่มอื่น
ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2554 มีประชากรตามทะเบียนราษฎร์ทั้งสิ้น 1,192,033 คน
แยกเป็นชาย 574,770 คน หญิง 617,263 คน จำนวนประชากรแฝงประมาณเกือบ 1 เท่าของประชากรตามทะเบียนราษฎร์
อำเภอ | ชาย | หญิง | รวม | จำนวนบ้าน |
เมืองสมุทรปราการ |
240,923 |
261,896 |
502,819 |
207,732 |
พระประแดง |
99,278 |
105,014 |
204,292 |
82,770 |
บางพลี |
96,082 |
105,382 |
201,464 |
107,896 |
พระสมุทรเจดีย์ |
56,680 |
59,104 |
115,784 |
46,713 |
บางบ่อ |
47,854 |
50,014 |
97,868 |
33,652 |
บางเสาธง |
33,953 |
33,853 |
69,806 |
44,645 |
รวม |
574,770 |
617,263 |
1,192,033 |
523,408 |
ที่มา: ที่ทำการปกครองจังหวัดสมุทรปราการ ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2554
สภาพภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลาง แยกพื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตะวันออกและมีลำคลองหลายสาย ซึ่งมีความสำคัญในด้านการชลประทานเพื่อการเกษตร และใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำด้วยโดยทั่วไปแล้วลักษณะภูมิประเทศของจังหวัด สามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
- บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่ง ซึ่งเป็นที่ราบลุ่มทั้งหมดเหมาะสำหรับการทำนาและทำสวน
- บริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึงและพื้นดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง โดยมากจะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำป่าจากและป่าฟืน
- บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและตะวันออก ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกันตลอด มีคลองชลประทานหลายแห่ง เหมาะแก่การทำนา
การเดินทางรถยนต์
สามารถใช้เส้นทางถนนสุขุมวิท (สายเก่า) และเส้นทางหลวงหมายเลข 303 ระยะทางประมาณ 19 กิโลเมตร เข้าสู่ตัวเมืองจังหวัดสมุทรปราการ
รถโดยสารประจำทางปรับอากาศ (ขสมก.)
ปอ.507 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้)
ปอ.508 (ปากน้ำ-ท่าราชวรดิษฐ์)
ปอ.511 (ปากน้ำ-ขนส่งสายใต้)
ปอ.510 (รังสิต-ปู่เจ้าสมิงพราย)
ปอ.23 (สำโรง-ทางด่วน-เทเวศน์)
ปอ.25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง)
ปอ.102 (ปากน้ำ-ช่องนนทรี)
ปอ.545 (นนทบุรี-สำโรง)
ปอ.129 (สำโรง-บางเขน)
ปอ.142 (ปากน้ำ-การเคหะธนบุรี)
ปอ.145 (ปากน้ำ-สวนจตุจักร)
ปอ.536 (ฟาร์มจระเข้-หมอชิตใหม่)
ปอ.20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำดินแดง)
รถโดยสารประจำทางธรรมดา
สาย 2 (สำโรง-ปากคลองตลาด)
สาย 6 (พระประแดง-บางลำภู)
สาย 23 (สำโรง-เทเวศร์)
สาย 25 (ปากน้ำ-ท่าช้าง)
สาย 45 (สำโรง-สี่พระยา)
สาย 82 (พระประแดง-สนามหลวง)
สาย 116 (สำโรง-สาทร)
สาย 129 (บางเขน-สำโรง)
สาย 145 (สวนจตุจักร-ปากน้ำ)
รถร่วมบริการของเอกชน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อวัตถุประสงค์ในการปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของคุกกี้ที่เราจัดเก็บ เหตุผลในการใช้คุกกี้ และวิธีการตั้งค่าคุกกี้ได้ใน นโยบายคุกกี้ และ คำแถลงว่าด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล